ประถมปลาย

ประถมปลาย
ช่วงชั้น 2

“สืบค้นในวัยประถม”


ข่าวช่วงชั้นประถมปลาย

รักบี้กระชับมิตร : เพลินพัฒนา พบ วิถีธรรม

การแข่งขันรักบี้กระชับมิตร ระหว่าง รร.เพลินพัฒนา และ รร.วิถีธรรม รุ่นอายุ 10 ปี และ 12 ปี ประเภทชาย หญิง เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2566 ณ สนามกีฬาหนองหญ้าไซ จ. สกลนคร

Gift for Giving ครั้งที่ 23

Gift for giving กิจกรรมดีๆ ที่ช่วงชั้นที่ 2 จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องนับเป็นครั้งที่ 23 (3 มีนาคม 2566) ปีนี้กิจกรรมมีแนวคิดเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้ประสบภัย และผู้ด้อยโอกาส

ภาคสนามชั้น 4 : บ้านห้วยสะพาน จ.กาญจนบุรี

ภาคสนาม ชั้น 4 การเรียนรู้นอกห้องเรียนที่พาเด็กๆไปสัมผัสชีวิต ธรรมชาติ วิถีความเป็นอยู่ ความเอื้ออาทรของผู้คนในชุมชน ภาพของชุมชนเมืองที่เด็กๆคุ้นเคยฉายชัดในความต่างเมื่อเด็กๆได้ไปสัมผัสชีวิตชนบทที่บ้านห้วยสะพาน จังหวัดกาญจนบุรี

กิจกรรมประกวด “นิทานแสนดีจากพี่สู่น้อง” ครั้งที่ 1

เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างพี่มัธยมกับน้องอนุบาล ประถม ผ่านหนังสือนิทาน และสร้างนิสัยรักการอ่าน จึงเกิดการประกวดแต่งนิทานแสนดีจากพี่สู่น้องขึ้นมาเป็นครั้งแรก ในปี 2565 นี้

ภาคสนามชั้น 6 : สมุทรสงคราม เมืองท่องเที่ยวสร้างสรรค์

ในภาคเรียนวิมังสา ปีการศึกษา 2565 เด็กๆ ชั้น 6 ได้ลงพื้นที่ จ. สมุทรสงครามเพื่อซึมซับและเห็นคุณค่าของอัตลักษณ์ทางภูมิสังคม-วัฒนธรรมสู่การจัดการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์

ภาคสนามชั้น 2 : เรียนรู้วิถีแพทย์แผนไทย ปรับสมดุลธาตุเจ้าเรือน

เด็กๆ ชั้น 2 ได้มาเรียนรู้เรื่องสมุนไพร และ สมดุลธาตุเจ้าเรือน ร่วมกับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญ ณ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

โรงเรียนเพลินพัฒนา ตั้งใจออกแบบกลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้ในลักษณะต่างๆ

เพื่อให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมและบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษาได้อย่างครบถ้วนและทั่วถึง

กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้เหล่านี้อาจจัดแบ่งในลักษณะกลุ่มหน่วยวิชาออกได้เป็น 3 กลุ่มหน่วยวิชา คือ
  • กลุ่มหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต
  • กลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐาน
  • กลุ่มหน่วยวิชาประยุกต์

กลุ่มประสบการณ์การเรียนรู้

กลุ่มหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต

กลุ่มหน่วยวิชาที่เป็นรากฐานการรับรู้โลกของมนุษย์ผ่านผัสสะ ก่อเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด ตัวตน และอุปนิสัยส่วนลึกของผู้เรียนขึ้น โดยอาศัยการเรียนรู้ที่ใช้ร่างกาย ประสาทสัมผัส และจิตใจเป็นหลัก ประกอบด้วย หน่วยวิชากีฬา หน่วยวิชาแสนภาษา หน่วยวิชาดนตรีชีวิต หน่วยวิชาประเพณีในชีวิต หน่วยวิชาการงานเพื่อชีวิต และหน่วยวิชาคุณค่าในวิถีชีวิต

หน่วยวิชากีฬา

คือการฝึกมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้มีความสมบูรณ์ เป็นการบูรณาการทั้งการใช้ร่างกาย ประสาทสัมผัส อารมณ์ความรู้สึก นึก คิด ปฏิภาณ คุณธรรม และจริยธรรม อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ไม่ใช่เพียงร่างกาย แต่มุ่งใช้กีฬาพัฒนาตนเพื่อยกระดับจิตใจ โดยเน้นกีฬาที่มีลักษณะเป็นทีม ใช้ความอดทนสูง และก่อให้เกิดการเรียนรู้ความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย

เนื่องจากหน่วยวิชากีฬามีคาบเรียนในตารางเวลาเรียนเพียง ๒ คาบต่อสัปดาห์ และยังมีลักษณะเป็นการเรียนที่แยกกลุ่มสาระโดดเดี่ยวไม่ได้บูรณาการอยู่กับหน่วยวิชาอื่นซึ่งยังไม่เพียงพอในการพัฒนาชีวิตนักเรียนตามเป้าหมายของหน่วยวิชา ดังนั้นจึงมีการสร้างเทศกาลกีฬาขึ้นนอกตารางเวลาเรียน เพื่อใช้เชื่อมโยงกับการเรียนกีฬาในคาบเรียนให้มีพลังเพียงพอที่จะสร้างการพัฒนาชีวิตนักเรียนขึ้นได้ เทศกาลกีฬาใน ๑ ปีการศึกษาประกอบด้วย เทศกาลกีฬาประจำภาคเรียน และเทศกาลแดงชาด


หน่วยวิชาแสนภาษา (โครงงาน)

คือการพัฒนาความสามารถในการสร้างสรรค์ และสื่อสาร ความรู้สึก นึก คิดที่ไม่ใช่ภาษาพูดและภาษาเขียนแต่ผ่านสื่อศิลปะอันหลากหลาย ด้วยการกระตุ้น ฝึกฝน และพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทุกชนิด แล้วเชื่อมโยงประสบการณ์จากผัสสะเหล่านั้น สู่ความหมายของความรู้สึก นึก คิด ก่อเกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ที่จะสื่อสารความรู้สึก นึก คิดอย่างอิสระ ภายใต้เงื่อนไขของแต่ละบริบท

นอกจากนี้หน่วยวิชาแสนภาษายังผสมผสานวิธีการทางศิลปะบำบัด สุนทรียศาสตร์ ศิลปะวิจักษ์ และการซึมซับคุณค่า เพื่อเสริมสร้างการพัฒนาจิตใจ และคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

เนื่องจากหน่วยวิชาแสนภาษามีคาบเรียนในตารางเวลาเรียนเพียง 2 คาบต่อสัปดาห์ ซึ่งยังไม่เพียงพอในการพัฒนาชีวิตนักเรียนตามเป้าหมายของหน่วยวิชา ดังนั้น หน่วยวิชาแสนภาษาจึงมีการเรียนในลักษณะโครงงานแสนภาษาซึ่งนำไปเชื่อมโยงและบูรณาการกับโครงงานดนตรีชีวิตและโครงงานประเพณีในชีวิต เพื่อร่วมกันสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะตามเป้าหมายของหน่วยวิชาและหลักสูตรสถานศึกษา


หน่วยวิชาดนตรีชีวิต (โครงงาน)

การเชื่อมประสานศาสตร์ของเสียงและการเคลื่อนไหวทั้ง 5 ศาสตร์ คือ นาฏกรรม การบรรเลงดนตรี การขับร้อง-ขับขาน กวีนิพนธ์ และศิลปะการละคร  เพื่อนำผู้เรียนสู่สุนทรียสัมผัสของเสียง ภาษา และการใช้ร่างกาย ก่อเกิดความสุข ความสามารถในการสร้างสรรค์และการสื่อสารทางดนตรี นาฏกรรม กวีนิพนธ์ และการละคร ตลอดจนเกิดการพัฒนาชีวิตอย่างเป็นองค์รวมและการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning)

เนื่องจากหน่วยวิชาดนตรีชีวิตมีคาบเรียนในตารางเวลาเรียนเพียง 2 คาบต่อสัปดาห์ ซึ่งยังไม่เพียงพอในการพัฒนาชีวิตนักเรียนตามเป้าหมายของหน่วยวิชา ดังนั้นหน่วยวิชาดนตรีชีวิตจึงได้เวลาช่วงพิธีกรรมเช้าหน้าเสาธงทุกวัน ประมาณวันละ 10-15 นาที อีกทั้งยังมีการเรียนในลักษณะโครงงานดนตรีชีวิตซึ่งนำไปเชื่อมโยงและบูรณาการกับโครงงานแสนภาษาและโครงงานประเพณีในชีวิต เพื่อร่วมกันสร้างสมรรถนะและคุณลักษณะตามเป้าหมายของหน่วยวิชาและหลักสูตรสถานศึกษา


หน่วยวิชาประเพณีในชีวิต (โครงงาน)

เป็นโครงงานที่อยู่ในรูปแบบของประเพณีเพื่อการเปลี่ยนผ่านในช่วงเวลาสำคัญของชีวิตซึ่งจัดขึ้นภาคเรียนละ 1 ครั้ง เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง (Transformative Learning) ทัศนะ คุณค่า และคุณลักษณะ ให้ไปสู่เป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

โครงงานนี้เป็นศูนย์รวมที่บูรณาการโครงงานแสนภาษา และโครงงานดนตรีชีวิตเข้าด้วยกันเพื่อร่วมกันสร้างสมรรถนะ และคุณลักษณะตามเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

No posts


หน่วยวิชาการงานเพื่อชีวิต

คือการนำพาผู้เรียนค้นหาความชอบ ความสนใจ ความถนัดและวิถีการดำเนินชีวิต (Life Style) ของตนเอง และนำสิ่งเหล่านั้นมาบูรณาการลงในการงานจริงในชีวิตเพื่อพัฒนาสมรรถนะในการทำงานของตนเองด้วยตนเองอย่างมีความสุข  ในการทำงานดังกล่าวจะช่วยบ่มเพาะให้ผู้เรียนมีความเป็นเจ้าของการงานที่ตนทำ เกิดความเพียรในการทำงาน มีสติ มีสมาธิ มีใจจดจ่ออยู่กับงาน สามารถจัดการเวลาในการทำงาน ประเมิน เรียนรู้ ปรับปรุง และควบคุมคุณภาพของงาน ตลอดจนพยายามสร้างสรรค์ผลงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ จนการงานนั้นซึมซับเข้าเป็นส่วนสำคัญของชีวิตผู้เรียน


หน่วยวิชาคุณค่าในวิถีชีวิต

คือหน่วยวิชาที่จะนำผู้เรียนไปสู่การตั้งเป้าหมายของการมีชีวิต การเลือกวิถีชีวิต และความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์อย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา เริ่มต้นจากการค้นพบโลกภายในของตนเอง เพื่อให้รู้เท่าทันอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิดของตน มีใจที่เปิดกว้างในการรับฟังและเข้าอกเข้าใจผู้อื่น รวมทั้งเพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันระหว่างวิธีที่เรามองโลกและชีวิตที่เป็นจริง เห็นความเป็นไปของชีวิตในสถานการณ์ปัจจุบัน เห็นความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับผู้อื่น ครอบครัว ชุมชน สังคม โลก และสิ่งแวดล้อมทั้งหมด

กลุ่มวิชาพื้นฐาน

กลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐานเป็นการเรียนรู้ที่พัฒนาต่อขึ้นมาจากกลุ่มหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต กลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐานนี้มุ่งเน้นไปที่การฟัง พูด อ่าน เขียน คิด และรู้สึก ผ่านภาษาและระบบสัญลักษณ์อย่างมีระเบียบแบบแผน หรือมีไวยากรณ์ที่ละเอียดซับซ้อน และค่อนข้างแน่นอน ภาษาและระบบสัญลักษณ์เป็นเครื่องมือหลักในการเรียนรู้ทั้งทางวิชาการและวิชาชีพ ทั้งในด้านศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ กลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐานจึงเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้อีกมากมายที่จะอาศัยต่อยอดต่อไป

กลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐานประกอบด้วย หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language) หน่วยวิชาคณิตศาสตร์  และหน่วยวิชาจินตทัศน์

หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย

คือการเรียนรู้เพื่อวางรากฐานภาษาแม่ให้มั่นคงแข็งแรง และเปิดประตูนำผู้เรียนสู่ภูมิปัญญาของวัฒนธรรมไทย โดยมีภาษาไทยเป็นแกนหลักในการเรียนรู้ เป็นการพัฒนาทั้งทักษะภาษาและไหวพริบปฏิภาณ ให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการเชื่อมโยงโลกภายในของแต่ละบุคคลเข้ากับโลกภายนอก และโลกภายในของคนอื่น ๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต อีกทั้งยังเป็นการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่าง ๆ ของไทย ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาแม่เป็นเครื่องมือพื้นฐานในการสร้างสรรค์ความรู้ ความสามารถใหม่ ๆ ต่อยอดต่อไปได้ด้วยตนเอง


หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language)

คือการเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่อจากภาษาแม่ อย่างมีความลึกซึ้งและมีประสิทธิผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีความสุข ผ่านการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน คิดวิเคราะห์ และการนำภาษาอังกฤษไปพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่มีความสนใจ


หน่วยวิชาคณิตศาสตร์

คือเครื่องมือของการคิดและการแก้ปัญหาเชิงปริมาณที่ต้องการความแม่นยำ มีลักษณะเป็นภาษาสำหรับความคิดเชิงเหตุผลที่ใช้ระบบสัญลักษณ์ รูปทรง และตัวเลข ผ่านกระบวนการทางเหตุผลที่แจกแจงเป็นลำดับสืบเนื่อง เพื่อมุ่งหมายหาคำตอบที่แน่นอนให้ถึงที่สุด หรือคาดคะเน คาดเดาสิ่งที่ต้องการศึกษาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่เหตุผลและระบบสัญลักษณ์จะสามารถให้ได้


หน่วยวิชาจินตทัศน์

คือการพัฒนาการคิดเชิงระบบที่เป็นภาพ และการนำเสนอความคิดเป็นภาพ หน่วยวิชานี้เป็นการผสมผสานการคิดเชิงระบบ ตรรกวิทยา และจินตนาการด้านมิติสัมพันธ์ในรูปลักษณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง โดยเริ่มจากการมุ่งกระตุ้นและพัฒนาหน่วยความคิดที่เล็กที่สุด คือหน่วยที่เป็นภาพในใจ(จินตภาพ) และหน่วยที่เป็นความเข้าใจ (มโนทัศน์) เพื่อพัฒนาความสามารถในการคิดให้ปรากฏออกมาเป็นภาพหรือแบบจำลองในรูปแบบต่าง ๆ ได้มากมาย

No posts

กลุ่มหน่วยวิชาประยุกต์

เป็นการเรียนรู้ที่ต้องอาศัยกลุ่มหน่วยวิชาพัฒนาชีวิต และกลุ่มหน่วยวิชาพื้นฐานเป็นรากฐานของการเรียนรู้ กลุ่มหน่วยวิชาประยุกต์เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ สังคมวัฒนธรรม และเทคโนโลยีที่สัมพันธ์อยู่กับชีวิตของผู้เรียน กลุ่มหน่วยวิชานี้ ประกอบด้วย หน่วยวิชามานุษกับโลก หน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา และหน่วยวิชาโครงงานวิจัยประจำภาคเรียน

หน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา

คือการเรียนรู้เรื่องวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และเทคโนโลยี จากปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ที่พบเห็นได้ เป็นการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ธรรมชาติที่เชื่อมโยงและบูรณาการกับโครงงานวิจัยประจำภาคเรียน เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของสรรพสิ่งและการใช้เทคโนโลยีเพื่อความยั่งยืน


หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา

คือการนำเนื้อหาสาระของวิชาสังคมศึกษาที่หลากหลาย มาจัดกลุ่มภายใต้หลักคิดทางสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เพื่อเปิดโลกทัศน์สู่การเรียนรู้เรื่องของมนุษย์ สังคม วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ และอนาคตศาสตร์ จนเกิดจินตนาการและวิธีคิดที่นำสู่การปฏิบัติได้จริง ควบคู่ไปกับการสร้างทัศนคติและการปลูกฝังศีลธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ลงไปในวิถีชีวิตที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม อย่างสันติ สร้างสรรค์ และยั่งยืน เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักว่าตัวเขาคือส่วนหนึ่งในประวัติศาสตร์ของสังคม ดังนั้นการกระทำของเขาในปัจจุบันจะส่งผลต่อห้วงเวลาต่อไป ทั้งในส่วนของผลที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและสังคม

หน่วยวิชานี้เป็นการเรียนรู้ด้วยกระบวนการทางสังคมศาสตร์ มานุษยวิทยา และศิลปะศาสตร์ ที่เชื่อมโยงและบูรณาการกับโครงงานวิจัยประจำภาคเรียน เพื่อความเข้าใจในธรรมชาติของมนุษย์ สังคม วัฒนธรรม ที่ผูกพันอยู่กับภูมิศาสตร์ และห้วงเวลา เพื่อการสร้างสังคมและวัฒนธรรมที่มีสันติ สร้างสรรค์ และยั่งยืน


หน่วยวิชาโครงงานวิจัยประจำภาคเรียน

คือการสร้างความรู้อย่างเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้วยตนเองอย่างแท้จริง โดยการนำกระบวนการวิจัยมาขับเคลื่อนกระบวนการเรียนรู้ เป็นการสัมผัสกับประสบการณ์จริง ฝึกกระบวนการคิด ฝึกทักษะการจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้ในการแก้ปัญหา การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ และการสร้างความรู้ใหม่ ด้วยวิธีการวิจัยที่มีความน่าเชื่อถือทางวิชาการ อันจะนำไปสู่คุณภาพของผู้เรียนและช่วยให้ผู้เรียนมีเครื่องมือในการเรียนรู้ตลอดชีวิตสำหรับโลกในสถานการณ์ใหม่

โครงงานวิจัยประจำภาคเรียนยังเป็นศูนย์กลางของการบูรณาการหน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาฯ และหน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษาเพื่อร่วมกันนำผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรสถานศึกษา

แนวคิดการจัด 4 ภาคเรียน

นำหลักธรรมสร้างวิถีการเรียนรู้
การจัดแบ่งช่วงเวลาในแต่ละปีการศึกษา
โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดเวลาให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ 40 สัปดาห์ใน 1 ปีการศึกษา 

ปีการศึกษาออกเป็น 4 ภาค ภาคละ 10 สัปดาห์ ซึ่งมีชื่อภาคและช่วงเวลาเปิด-ปิดภาคดังนี้

ภาคที่ 1 : ภาคฉันทะ

จะเปิดราวต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม

ประมาณ 12 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม

ภาคที่ 2 : ภาควิริยะ

จะเปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม และปิดราวต้นเดือนตุลาคม

ประมาณ 24 กรกฎาคม – 3 ตุลาคม

ภาคที่ 3 : ภาคจิตตะ

จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม และปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม

ประมาณ 20 ตุลาคม – 26 ธันวาคม

ภาคที่ 4 : ภาควิมังสา

จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 1 หรือ 2 ของเดือนมกราคม และปิดราวกลางเดือนมีนาคม 

ประมาณ 5 มกราคม – 15 มีนาคม