การเรียนในช่วงชั้น

นำหลักธรรมสร้างวิถีการเรียนรู้
การจัดแบ่งช่วงเวลาในแต่ละปีการศึกษา
โรงเรียนเพลินพัฒนาจัดเวลาให้นักเรียนได้มีการเรียนรู้ 40 สัปดาห์ใน 1 ปีการศึกษา 

หลักคิดในการจัดภาคการศึกษา 4 ภาค

รอบการเรียน 10 สัปดาห์ เป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมในการสร้างกระบวนการเรียนรู้หรือโครงงานที่มีความกระชับ รัดกุม และยังสามารถขยายผลเป็นกระบวนการหรือโครงงานใหญ่ โดยการผนวกกระบวนการเรียนรู้หรือโครงงาน เป็น 2 ภาค 3 ภาค หรือ 4 ภาค ได้ตามความเหมาะสม

รอบการเรียน 10 สัปดาห์ทำให้นักเรียนได้มีการประมวล สรุป สังเคราะห์ การเรียนรู้ได้เร็วขึ้น สามารถประสบ ความสำเร็จในการเรียนรู้และพัฒนาตัวเองได้เร็วขึ้น เกิดกำลังใจและได้ชื่นชมในความก้าวหน้าที่เกิดขึ้น การประเมินผลพัฒนาการนักเรียนก็มีความถี่มากขึ้น

การพัฒนานักเรียนจาก 3 ฝ่าย คือ โรงเรียน นักเรียน และบ้าน ก็จะมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

รอบการทำงานของครูและบุคลากรที่สั้นลงจะทำให้ระบบการวิจัยและพัฒนาในการทำงานมีความกระชับ รัดกุม และมีประสิทธิภาพสูงในการปรับปรุงและพัฒนาตนเอง องค์กร และแผนการทำงานอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีผลโดย ตรงต่อพัฒนาการของนักเรียน

นอกจากนี้ชื่อภาคทั้ง 4 ยังได้นำแนวคิดมาจากหลักธรรมคำสอนขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่เรียกว่า “อิทธิบาท ๔ “ หลักธรรมอันเป็นรากฐานแห่งความสำเร็จ ที่โรงเรียนได้นำมากำหนดไว้เป็นหลักการและเป้าหมายการเรียนการสอนในแต่ละภาคเรียน เพื่อการจัดบรรยากาศ การจัดตารางการเรียนรู้ รูปแบบการเรียนรู้ และการวางเป้าหมายกว้างๆ ของการพัฒนานักเรียนในแต่ละภาค ให้ร้อยเรียง สอดประสานกันอย่างมีเอกภาพตลอดปีการศึกษา


ช่วงชั้นอนุบาล – ช่วงชั้นที่ 2

โดยได้แบ่งปีการศึกษาออกเป็น 4 ภาค ภาคละ 10 สัปดาห์ ซึ่งมีชื่อภาคและช่วงเวลาเปิด-ปิดภาคดังนี้

ภาคที่ 1 : ภาคฉันทะ
จะเปิดราวต้นสัปดาห์ที่ 2 ของเดือนพฤษภาคม และปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนกรกฎาคม
(ประมาณ 12 พฤษภาคม – 18 กรกฎาคม)

ภาคที่ 2 : ภาควิริยะ
จะเปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนกรกฎาคม และปิดราวต้นเดือนตุลาคม
(ประมาณ 24 กรกฎาคม – 3 ตุลาคม)

ภาคที่ 3 : ภาคจิตตะ
จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนตุลาคม และปิดราวสัปดาห์สุดท้ายของเดือนธันวาคม
(ประมาณ 20 ตุลาคม – 26 ธันวาคม)

ภาคที่ 4 : ภาควิมังสา
จะเปิดราวสัปดาห์ที่ 1 หรือ 2 ของเดือนมกราคม และปิดราวกลางเดือนมีนาคม 
(ประมาณ 5 มกราคม – 15 มีนาคม)


ช่วงชั้นมัธยม

ภาคเรียนที่ 1 : ภาคฉันทะ – ภาควิริยะ (ประมาณเดือนพฤษภาคม – ต้นเดือนตุลาคม)

ภาคเรียนที่ 2 จิตตะ-วิมังสา (ประมาณเดือนตุลาคม – มีนาคม)


โรงเรียนเพลินพัฒนาตั้งใจออกแบบทุกหน่วยวิชา เพื่อสร้างหนทางให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้และมีพัฒนาการชีวิตที่งอกงาม สมวัย

เติบโตเต็มศักยภาพ มีความสุข รักการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเนื้อหา และทักษะอย่างยั่งยืน ลึกซึ้งถึงชีวิตจิตใจ สามารถเชื่อมโยงสู่การประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ตรง

ทุกๆ หน่วยวิชาจึงต้องสร้างทั้งความรู้ ความคิด ทักษะ และสมรรถภาพต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างเพียงพอ ต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัยได้อย่างถูกต้องดีงาม ตลอดจนคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชาต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพ

เพื่อก่อเกิดการพัฒนาแบบพหุปัญญาในมิติที่กว้างขวางขึ้นกับผู้เรียน โดยการเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการงาน และในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ซึ้งประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาที่เป็นรากฐานการรับรู้โลกของมนุษย์ผ่านผัสสะ ก่อเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด และอุปนิสัยส่วนลึกของผู้เรียนขึ้น โดยอาศัยการเรียนรู้ที่ใช้ร่างกายเป็นหลัก ประกอบด้วย หน่วยวิชากีฬา หน่วยวิชาแสนภาษา หน่วยวิชาดนตรีชีวิต

หน่วยวิชากีฬา

คือ การฝึกมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้มีความสมบูรณ์ เป็นการบูรณาการทั้งการใช้ร่างกาย ประสาทสัมผัส อารมณ์ความรู้สึก นึก คิด ปฏิภาณ คุณธรรม และจริยธรรม อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ไม่ใช่เพียงร่างกาย แต่มุ่งใช้กีฬาพัฒนาตนเพื่อยกระดับจิตใจ โดยเน้นกีฬาที่มีลักษณะเป็นทีม ใช้ความอดทนสูง และก่อให้เกิดการเรียนรู้ความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการสร้างทักษะการเอาชีวิตรอดทางน้ำด้วยหลักสูตร Survival Swimming

หน่วยวิชาแสนภาษา

คือ การพัฒนาศักยภาพในการสื่อภาษาที่ไม่ใช่ภาษาพูดและภาษาเขียน ด้วยการกระตุ้น ฝึกฝน และพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทุกชนิด แล้วเชื่อมโยงประสบการณ์จากผัสสะเหล่านั้น สู่ความหมายของความรู้สึก นึก คิด และอารมณ์ อย่างไม่รู้ตัว จากนั้นก็ส่งเสริม กระตุ้น และสร้างเงื่อนไขให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่จะนำมาใช้
เป็นภาษาสำหรับสื่อสารอย่างอิสระ และหลากหลาย

หน่วยวิชาดนตรีชีวิต

คือ การเชื่อมประสานศาสตร์แห่งการแสดงทั้ง 5 คือ นาฏกรรม การบรรเลง การขับร้อง-ขับขาน กวีนิพนธ์ และศิลปะการละคร เป็นประสบการณ์การเรียนรู้และฝึกฝน ผ่านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้บรรยากาศที่เรียนรู้อย่างมีความสุข

เป็นกลุ่มวิชาที่เป็นพื้นฐานของการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด และรู้สึก ผ่านระบบสัญลักษณ์อย่างมีระเบียบแบบแผน หรือมีไวยากรณ์ที่ละเอียดซับซ้อน และค่อนข้างแน่นอน

ดังนั้นจึงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกมากมาย และมีลักษณะเป็นการต่อยอดขึ้นจากกลุ่มวิชาแม่บท ประกอบด้วย หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language) หน่วยวิชาคณิตศาสตร์ หน่วยวิชาจินตทัศน์

หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย

คือ การเรียนรู้เพื่อวางรากฐานภาษาแม่ให้มั่นคงแข็งแรง และเปิดประตูนำผู้เรียนสู่ภูมิปัญญาของวัฒนธรรมไทย โดยมีภาษาไทยเป็นแกนหลักในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือฝึกฝนทั้งทักษะภาษาและพัฒนาไหวพริบปฏิภาณ ให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการเชื่อมโยงโลกภายในของแต่ละบุคคลเข้ากับโลกภายนอก และโลกภายในของคนอื่นๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต นับเป็นการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการประยุกต์ ปรับปรุง และสร้างสรรค์ความรู้ ความสามารถใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language)

คือ การเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่อจากภาษาแม่ อย่างมีความลึกซึ้งและมีประสิทธิผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ในรูปของโครงงาน และการนำภาษาอังกฤษไปพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่มีความสนใจ

หน่วยวิชาคณิตศาสตร์

คือ เครื่องมือของการคิดและการแก้ปัญหาที่ต้องการความแม่นยำ มีลักษณะเป็นภาษาสำหรับความคิดเชิงเหตุผลที่ใช้ระบบสัญลักษณ์ รูปทรง และตัวเลข ผ่านกระบวนการทางเหตุผลที่แจกแจงเป็นลำดับสืบเนื่อง เพื่อมุ่งหมายหาคำตอบที่แน่นอนให้ถึงที่สุด หรือคาดคะเน คาดเดาเหตุผลของสิ่งที่ต้องการศึกษาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่เหตุผลและระบบสัญลักษณ์จะสามารถให้ได้

หน่วยวิชาจินตทัศน์

คือ การพัฒนาประสิทธิภาพในการคิด และการนำเสนอความคิดที่เป็นการผสมผสานตรรกวิทยา และจินตนาการด้านมิติสัมพันธ์ในรูปลักษณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง โดยเริ่มจากการมุ่งกระตุ้นและพัฒนาหน่วยความคิดที่เล็กที่สุด คือหน่วยที่เป็นภาพในใจ(จินตภาพ) และหน่วยที่เป็นความเข้าใจ (มโนทัศน์) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิดให้ปรากฏออกมาเป็นผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย

เป็นกลุ่มวิชาความรู้ในประเด็นเฉพาะอันหลากหลาย ซึ่งต้องอาศัยสมรรถนะในกลุ่มวิชาแม่บท และกลุ่มวิชาพื้นฐาน เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการต่อยอดขึ้นจากกลุ่มวิชาแม่บท และกลุ่มวิชาพื้นฐาน ประกอบด้วย หน่วยวิชามานุษกับโลก หน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา หน่วยวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

หน่วยวิชามานุษกับโลก

คือ การมองความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ เทคโนโลยี และสังคมมนุษย์ จากปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ที่พบเห็นได้ เป็นการบูรณาการเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา ด้วยการเรียนรู้แบบสงสัย สืบสอบ สร้างสรรค์ สามารถนำหลักการเรียนรู้เชิงคิดวิเคราะห์มาใช้ในการสืบค้น พัฒนาความคิดเชิงระบบ และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ก่อให้เกิดสำนึก และวิธีปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันในโลกอย่างเกื้อกูล ปริมาณมาแสดงความแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การทำความรู้จัก และการสร้างสรรค์วิถีทางของการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ร่วมกันอย่างสมดุลตามสมควรแก่วัยของผู้เรียน

หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา

คือ การนำเอาเนื้อหาสาระของวิชาสังคมศึกษาที่หลากหลาย มาจัดกลุ่มภายใต้หลักคิดของสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เพื่อเปิดโลกทัศน์สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ เกิดวิธีคิดใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างทัศนคติและการปลูกฝังศีลธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ลงไปในวิถีชีวิตที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนการเรียนรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคตข้างหน้าว่าการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของตนว่าตัวเขาคือส่วนหนึ่งของห้วงเวลา ดังนั้นการกระทำของเขาในปัจจุบันจะส่งผลต่อห้วงเวลาต่อไป ทั้งในส่วนของผลที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและสังคม

หน่วยวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

คือ การนำผู้เรียนเข้าสู่ชีวิตจริง โดยเรียนรู้ไปบนการงานจริงที่ก่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เกิดความสามารถในการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะในการทำงาน รู้จักการใช้เครื่องมือและทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดการงานในลักษณะต่างๆ ด้วยตนเอง มีทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมและรู้คุณค่า ได้คิด ได้ทำ ในสิ่งที่สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชมรม กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมจิตอาสา

แนะแนว

กิจกรรมหลักที่จัดควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ในลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การให้บริการข้อมูล การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ตลอดจนการติดตามผลและการวิจัย โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

โรงเรียนเพลินพัฒนาตั้งใจออกแบบทุกหน่วยวิชา เพื่อสร้างหนทางให้ผู้เรียนได้เข้าสู่กระบวนการเรียนรู้และมีพัฒนาการชีวิตที่งอกงาม สมวัย

เติบโตเต็มศักยภาพ มีความสุข รักการเรียนรู้ เกิดความเข้าใจในเนื้อหา และทักษะอย่างยั่งยืน ลึกซึ้งถึงชีวิตจิตใจ สามารถเชื่อมโยงสู่การประยุกต์ใช้ในวิถีชีวิตได้ด้วยตนเองจากประสบการณ์ตรง

ทุกๆ หน่วยวิชาจึงต้องสร้างทั้งความรู้ ความคิด ทักษะ และสมรรถภาพต่างๆ ให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนอย่างเพียงพอ ต่อการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นไป สามารถจัดการกับปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละช่วงวัยได้อย่างถูกต้องดีงาม ตลอดจนคำนึงถึงความเชื่อมโยงระหว่างวิชาต่างๆ อย่างเป็นเอกภาพ

เพื่อก่อเกิดการพัฒนาแบบพหุปัญญาในมิติที่กว้างขวางขึ้นกับผู้เรียน โดยการเชื่อมโยงการเรียนรู้สู่การประยุกต์ใช้ในการงาน และในชีวิตประจำวันอยู่เสมอ ซึ้งประกอบด้วยรายวิชาดังต่อไปนี้

กลุ่มวิชาที่เป็นรากฐานการรับรู้โลกของมนุษย์ผ่านผัสสะ ก่อเกิดเป็นอารมณ์ ความรู้สึก นึก คิด และอุปนิสัยส่วนลึกของผู้เรียนขึ้น โดยอาศัยการเรียนรู้ที่ใช้ร่างกายเป็นหลัก ประกอบด้วย หน่วยวิชากีฬา หน่วยวิชาแสนภาษา หน่วยวิชาดนตรีชีวิต

หน่วยวิชากีฬา

คือ การฝึกมนุษย์ทั้งด้านร่างกายและจิตใจให้มีความสมบูรณ์ เป็นการบูรณาการทั้งการใช้ร่างกาย ประสาทสัมผัส อารมณ์ความรู้สึก นึก คิด ปฏิภาณ คุณธรรม และจริยธรรม อย่างเป็นเอกภาพ โดยมีเป้าหมายการพัฒนาที่ไม่ใช่เพียงร่างกาย แต่มุ่งใช้กีฬาพัฒนาตนเพื่อยกระดับจิตใจ โดยเน้นกีฬาที่มีลักษณะเป็นทีม ใช้ความอดทนสูง และก่อให้เกิดการเรียนรู้ความมีน้ำใจนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และการสร้างทักษะการเอาชีวิตรอดทางน้ำด้วยหลักสูตร Survival Swimming

หน่วยวิชาแสนภาษา

คือ การพัฒนาศักยภาพในการสื่อภาษาที่ไม่ใช่ภาษาพูดและภาษาเขียน ด้วยการกระตุ้น ฝึกฝน และพัฒนาระบบประสาทสัมผัสทุกชนิด แล้วเชื่อมโยงประสบการณ์จากผัสสะเหล่านั้น สู่ความหมายของความรู้สึก นึก คิด และอารมณ์ อย่างไม่รู้ตัว จากนั้นก็ส่งเสริม กระตุ้น และสร้างเงื่อนไขให้เกิดความคิดสร้างสรรค์สิ่งที่จะนำมาใช้
เป็นภาษาสำหรับสื่อสารอย่างอิสระ และหลากหลาย

หน่วยวิชาดนตรีชีวิต

คือ การเชื่อมประสานศาสตร์แห่งการแสดงทั้ง 5 คือ นาฏกรรม การบรรเลง การขับร้อง-ขับขาน กวีนิพนธ์ และศิลปะการละคร เป็นประสบการณ์การเรียนรู้และฝึกฝน ผ่านอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จินตนาการ และความคิดสร้างสรรค์ ภายใต้บรรยากาศที่เรียนรู้อย่างมีความสุข

เป็นกลุ่มวิชาที่เป็นพื้นฐานของการฟัง พูด อ่าน เขียน คิด และรู้สึก ผ่านระบบสัญลักษณ์อย่างมีระเบียบแบบแผน หรือมีไวยากรณ์ที่ละเอียดซับซ้อน และค่อนข้างแน่นอน

ดังนั้นจึงเป็นพื้นฐานการเรียนรู้สิ่งต่างๆ อีกมากมาย และมีลักษณะเป็นการต่อยอดขึ้นจากกลุ่มวิชาแม่บท ประกอบด้วย หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language) หน่วยวิชาคณิตศาสตร์ หน่วยวิชาจินตทัศน์

หน่วยวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย

คือ การเรียนรู้เพื่อวางรากฐานภาษาแม่ให้มั่นคงแข็งแรง และเปิดประตูนำผู้เรียนสู่ภูมิปัญญาของวัฒนธรรมไทย โดยมีภาษาไทยเป็นแกนหลักในการเรียนรู้ เป็นเครื่องมือฝึกฝนทั้งทักษะภาษาและพัฒนาไหวพริบปฏิภาณ ให้ผู้เรียนเกิดความสามารถในการเชื่อมโยงโลกภายในของแต่ละบุคคลเข้ากับโลกภายนอก และโลกภายในของคนอื่นๆ ทั้งในอดีต ปัจจุบัน อนาคต นับเป็นการเรียนรู้มรดกทางวัฒนธรรมและศิลปวิทยาการต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการประยุกต์ ปรับปรุง และสร้างสรรค์ความรู้ ความสามารถใหม่ๆ ได้ด้วยตนเอง

หน่วยวิชา ESL (English as a Second Language)

คือ การเรียนภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สองต่อจากภาษาแม่ อย่างมีความลึกซึ้งและมีประสิทธิผล เพื่อให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผ่านการเรียนรู้ด้วยกิจกรรมที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน และคิดวิเคราะห์ในรูปของโครงงาน และการนำภาษาอังกฤษไปพัฒนาการเรียนรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่มีความสนใจ

หน่วยวิชาคณิตศาสตร์

คือ เครื่องมือของการคิดและการแก้ปัญหาที่ต้องการความแม่นยำ มีลักษณะเป็นภาษาสำหรับความคิดเชิงเหตุผลที่ใช้ระบบสัญลักษณ์ รูปทรง และตัวเลข ผ่านกระบวนการทางเหตุผลที่แจกแจงเป็นลำดับสืบเนื่อง เพื่อมุ่งหมายหาคำตอบที่แน่นอนให้ถึงที่สุด หรือคาดคะเน คาดเดาเหตุผลของสิ่งที่ต้องการศึกษาให้แม่นยำที่สุดเท่าที่เหตุผลและระบบสัญลักษณ์จะสามารถให้ได้

หน่วยวิชาจินตทัศน์

คือ การพัฒนาประสิทธิภาพในการคิด และการนำเสนอความคิดที่เป็นการผสมผสานตรรกวิทยา และจินตนาการด้านมิติสัมพันธ์ในรูปลักษณ์ที่หลากหลาย สอดคล้องกับหลักการทำงานของสมอง โดยเริ่มจากการมุ่งกระตุ้นและพัฒนาหน่วยความคิดที่เล็กที่สุด คือหน่วยที่เป็นภาพในใจ(จินตภาพ) และหน่วยที่เป็นความเข้าใจ (มโนทัศน์) เพื่อพัฒนาศักยภาพในการคิดให้ปรากฏออกมาเป็นผลงานในรูปแบบต่างๆ ได้มากมาย

เป็นกลุ่มวิชาความรู้ในประเด็นเฉพาะอันหลากหลาย ซึ่งต้องอาศัยสมรรถนะในกลุ่มวิชาแม่บท และกลุ่มวิชาพื้นฐาน เป็นรากฐานสำคัญในการสร้างการเรียนรู้ขึ้น จึงมีลักษณะเป็นการต่อยอดขึ้นจากกลุ่มวิชาแม่บท และกลุ่มวิชาพื้นฐาน ประกอบด้วย หน่วยวิชามานุษกับโลก หน่วยวิชาธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา หน่วยวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

หน่วยวิชามานุษกับโลก

คือ การมองความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ เทคโนโลยี และสังคมมนุษย์ จากปรากฏการณ์เชิงประจักษ์ที่พบเห็นได้ เป็นการบูรณาการเนื้อหาของวิชาวิทยาศาสตร์และสังคมศึกษา ด้วยการเรียนรู้แบบสงสัย สืบสอบ สร้างสรรค์ สามารถนำหลักการเรียนรู้เชิงคิดวิเคราะห์มาใช้ในการสืบค้น พัฒนาความคิดเชิงระบบ และสร้างความรู้ความเข้าใจที่ก่อให้เกิดสำนึก และวิธีปฏิบัติที่เป็นไปเพื่อการอยู่ร่วมกันในโลกอย่างเกื้อกูล ปริมาณมาแสดงความแม่นยำ เพื่อนำไปสู่การทำความรู้จัก และการสร้างสรรค์วิถีทางของการมีชีวิตอยู่บนโลกนี้ร่วมกันอย่างสมดุลตามสมควรแก่วัยของผู้เรียน

หน่วยวิชามานุษและสังคมศึกษา

คือ การนำเอาเนื้อหาสาระของวิชาสังคมศึกษาที่หลากหลาย มาจัดกลุ่มภายใต้หลักคิดของสังคมวิทยา-มานุษยวิทยา ภูมิศาสตร์ และประวัติศาสตร์ เพื่อเปิดโลกทัศน์สู่การเรียนรู้สิ่งใหม่ เกิดวิธีคิดใหม่ ควบคู่ไปกับการสร้างทัศนคติและการปลูกฝังศีลธรรมที่ถูกต้อง ดีงาม ลงไปในวิถีชีวิตที่จะส่งผลต่อพฤติกรรมการอยู่ร่วมกันในสังคม ตลอดจนการเรียนรู้เรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน และการคาดการณ์อนาคตข้างหน้าว่าการกระทำต่างๆ ของมนุษย์ล้วนมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันทั้งสิ้น เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักถึงความสำคัญของตนว่าตัวเขาคือส่วนหนึ่งของห้วงเวลา ดังนั้นการกระทำของเขาในปัจจุบันจะส่งผลต่อห้วงเวลาต่อไป ทั้งในส่วนของผลที่จะเกิดขึ้นแก่ตนและสังคม

หน่วยวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี

คือ การนำผู้เรียนเข้าสู่ชีวิตจริง โดยเรียนรู้ไปบนการงานจริงที่ก่อประโยชน์ต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อให้เกิดความสามารถในการสร้างความรู้จากการลงมือปฏิบัติ เกิดทักษะในการทำงาน รู้จักการใช้เครื่องมือและทรัพยากรที่จะก่อให้เกิดการงานในลักษณะต่างๆ ด้วยตนเอง มีทักษะในการแก้ปัญหา การบริหารจัดการทรัพยากรอย่างเหมาะสมและรู้คุณค่า ได้คิด ได้ทำ ในสิ่งที่สามารถใช้เป็นพื้นฐานในการประกอบอาชีพต่อไปในอนาคต

กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ที่เน้นการพัฒนามนุษย์อย่างเป็นองค์รวม ทั้งด้านร่างกาย สติปัญญา อารมณ์ และสังคม ตลอดจนปลูกฝังและสร้างจิตสำนึกของการทำประโยชน์เพื่อสังคมส่วนรวม ประกอบด้วย กิจกรรมแนะแนว กิจกรรมชมรม กิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี และกิจกรรมจิตอาสา

แนะแนว

กิจกรรมหลักที่จัดควบคู่ไปกับการเรียนการสอน ในลักษณะของกิจกรรมการเรียนรู้ การให้บริการข้อมูล การให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล ตลอดจนการติดตามผลและการวิจัย โดยมุ่งส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ ให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง สามารถคิดตัดสินใจ คิดแก้ปัญหา กำหนดเป้าหมาย วางแผนชีวิตทั้งด้านการเรียนและอาชีพ นอกจากนี้ยังช่วยให้ครูรู้จักและเข้าใจผู้เรียน ทั้งยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยเหลือและให้คำปรึกษาแก่ผู้ปกครองในการมีส่วนร่วมพัฒนาผู้เรียน

การวัดและการประเมินผลการเรียนรู้ เป็นกระบวนการที่ให้ผู้สอนใช้พัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อแสดงพัฒนาการ ความก้าวหน้าและความสำเร็จของผู้เรียน โรงเรียนจัดทำเกณฑ์และแนวปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียน เพื่อให้การประเมินผลการเรียนเป็นไปอย่างถูกต้อง ยุติธรรม เป็นที่ยอมรับของสังคม หลักการของการวัดและประเมินผลการเรียนรู้

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นไปตามหลักการ ดังนี้ 

  • เพื่อปรับปรุงพัฒนานักเรียนและตัดสินผลการเรียน 
  • ประเมินผลด้วยวิธีการและเครื่องมือหลากหลายเหมาะสมกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีให้สอดคล้องและครอบคลุมมาตรฐานการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในหลักสูตร
  • การวัดและประเมินผลให้ครู นักเรียน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมและรับทราบวิธีการ เกณฑ์ต่างๆ ก่อนทำกิจกรรมหรือเรียนรู้

โรงเรียนจัดให้มีการวัดและประเมินผลระดับชั้นเรียนและการประเมินผลระดับโรงเรียน เพื่อตรวจสอบผลการพัฒนาของผู้เรียน ดังนี้

1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีทั้ง๘กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์การเก็บคะแนนการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้

  1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีทั้ง๘กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์การเก็บคะแนนการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
    1. กำหนดคะแนนเต็ม 100 คะแนน ในการวัดผลปลายปีทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    2. กำหนดให้มีการวัดและประเมินผล เพื่อเก็บคะแนนระหว่างเรียน 80 คะแนน ปลายปี 20 คะแนน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
    3. นำผลการวัดและประเมินระหว่างเรียน และปลายปีมารวมกันเป็นผลการประเมินปลายปี
    4. การตัดสินผลการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ช่วงชั้น นักเรียนต้องได้ผลการเรียนรู้ระดับ “2.00” ขึ้นไป ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมินกลุ่มสาระการเรียนรู้ช่วงชั้น
คะแนนจากการวัดผลระดับผลการเรียนความหมายผลการเรียน
80 – 1004.00ดีเยี่ยม
75 – 793.50ดีมาก
70 – 743.00ดี
65 – 692.50ค่อนข้างดี
60 – 642.00น่าพอใจ
55 – 591.50พอใช้
0 – 491.00ผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำ
  1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ตามผลการเรียนรู้ที่คาดหวังรายปีทั้ง 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้โดยกำหนดเกณฑ์การเก็บคะแนนการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ดังนี้
    1. เป็นการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มี 2 ลักษณะ คือ กิจกรรมแนะแนวและกิจกรรมนักเรียน ด้วยวิธีการหลากหลายตามสภาพจริง ตรวจสอบเวลาร่วมกิจกรรม ไม่ต่ำกว่า 80% และผ่านจุดประสงค์หลักของกิจกรรม
    2. การตัดสินผลการประเมินกิจกรรม พัฒนาผู้เรียน รายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ เมื่อสิ้นสุดภาคเรียนที่ 2 และภาคเรียนที่ 4
    3. การตัดสินการประเมินกิจกรรมพัฒนา ผู้เรียน จะได้ผลการประเมิน “ผ่าน” และ “ไม่ผ่าน” กรณีไม่ผ่านต้องซ่อมเสริม
  2. การประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์ เขียน
    1. เป็นการประเมินศักยภาพของนักเรียน ในการอ่านหนังสือ เอกสารและสื่อต่างๆ อย่างถูกต้อง คล่องแคล่ว คิดวิเคราะห์และสามารถเขียนแสดงความคิดเห็นได้ โดยประเมินจากวิชาภูมิปัญญาภาษาไทย มานุษกับโลก ธรรมชาติศึกษาและประยุกต์วิทยา มานุษและสังคมศึกษาและ ESL
    2. โรงเรียนตั้งคณะกรรมการประเมินการอ่าน คิดวิเคราะห์เขียน โดยกำหนดมาตรฐานการอ่าน คิด วิเคราะห์เขียน พร้อมตัวชี้วัดเป็นมาตรฐานคุณภาพของโรงเรียน
    3. การตัดสินผลการประเมินการอ่าน คิด วิเคราะห์เขียน รายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ เมื่อสิ้นภาคเรียนที่ 2 และภาคเรียนที่ 4 ทุกปี เพื่อผ่านช่วงชั้นและการประเมินเป็น “ดีเยี่ยม” “ดี” และ “ผ่านเกณฑ์การประเมิน”
  3. การประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์
    1. เป็นการประเมินด้านคุณธรรม จริยธรรมค่านิยมและคุณลักษณะที่โรงเรียนกำหนด
    2. โรงเรียนตั้งคณะกรรมการ เพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ เพื่อกำหนดตัวชี้วัด กิจกรรมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ทั้งในและนอกห้องเรียน
    3. การตัดสินการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์รายงานผลให้ผู้ปกครองทราบ เมื่อสิ้นสุดภาคเรียนที่ 2 และภาคเรียนที่ 4 ทุกปี เพื่อผ่านช่วงชั้น ผลการประเมินเป็น “ดีเยี่ยม” “ดี” และ “ผ่านเกณฑ์การประเมิน”
  4. การประเมินและตัดสินการผ่านช่วงชั้น
    1. ผู้อำนวยการโรงเรียนจะพิจารณาตัดสินการผ่านช่วงชั้นเฉพาะผู้เรียนที่ได้รับการวัดและประเมินผลปลายปีของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และมัธยมศึกษาปีที่ 6
    2. ผู้เรียนที่จะได้รับการตัดสินผ่านช่วงชั้นต้องได้รับการตัดสินผลการเรียนตั้งแต่ระดับ 2 ขึ้นไปและผ่านมาตรฐาน การเรียนรู้ช่วงชั้นทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ 
    3. ผู้เรียนต้องได้รับการตัดสินผลการประเมินกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ระดับ “ผ่าน” การอ่าน คิด วิเคราะห์เขียน ระดับ “ดีเยี่ยม” หรือ “ดี” และการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ระดับ “ดีเยี่ยม” หรือ “ดี”

การออกภาคสนามเป็นการสร้างแรงบันดาลใจ สร้างประสบการณ์ ที่ทำให้เกิดการเชื่อมโยงสิ่งที่ได้เห็นและได้สัมผัส เข้ากับสิ่งที่ได้เรียนรู้จากห้องเรียน คือการผจญภัยที่สร้างความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของผู้เรียน ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้ความสามารถที่สั่งสมมา เรียนรู้ที่จะเข้าใจตนเอง และพัฒนาสู่การสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตน

กระบวนการทางปัญญา ที่งอกงามจากการออกศึกษาภาคสนาม

  • ฝึกสังเกต
  • ฝึกบันทึก
  • ฝึกการนำเสนอต่อที่ประชุมกลุ่ม
  • ฝึกการฟัง
  • ฝึกปุจฉา-วิสัชนา
  • ฝึกตั้งสมมติฐานและตั้งคำถาม
  • ฝึกการค้นหาคำตอบ
  • เชื่อมโยงบูรณาการ
  • การวิจัย
  • ฝึกการเขียนเรียบเรียงทางวิชาการ

เร็ว ๆ นี้

เร็ว ๆ นี้

เร็ว ๆ นี้

เร็ว ๆ นี้